เป้าหมาย(Understanding Goal)

เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของเทศกาลต่างๆสามารถเชื่อมโยง เรียนรู้ วัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแต่ละประเทศ รวมทั้งสามารถ คิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ ความสอดคล้องในวิถีชีวิตทางสังคม รู้เคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ของกลุ่มสังคมต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด9สัปดาห์ได้
Week
Input
Process
Out put
Outcome




2
17-21
..
58          
โจทย์:การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
Key Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรในQuarterนี้?
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใด?
สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?

เครื่องมือคิด
Card & Chart: จัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Blackboard Share:ตั้งชื่อหน่อยการเรียนรู้
Think Pair Share: สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
Brain stormsออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping: สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี/ปากกา
วันจันทร์
ชง:
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม ”นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรในQuarterนี้?
เชื่อม:
- ครูแจกกระดาษให้นักเรียนแต่ละคนโดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้1เรื่องต่อ1แผ่น (card and chart)
- ครูและนักเรียนจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
วันพุธ
ชง:
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยอย่างไรให้น่าสนใจและสอดคล้องกับเรื่องที่เรียน?
เชื่อม:
- นักเรียนตั้งชื่อหน่วย ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share และ Blackboard Share
ชง :
- ครุกระตุ้นคิดด้วยคำถาม
Ø สิ่งที่นักเรียนรู้และเข้าใจในหน่วยนี้มีอะไรบ้าง
Ø สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง


เชื่อม : นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
(Think pair Share)
วันพฤหัสบดี
ชง : ครุกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 9 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
(Black Board Share)
วันศุกร์
ชง : ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยหลงเทศกาลโลก อย่างไร?
เชื่อม: นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วยหลงเทศกาลโลกผ่านเครื่องมือคิด Mind Mapping
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
Ø นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
Ø นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
Ø นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร?
เชื่อม : สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การร่วมกันระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- การร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง9สัปดาห์
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง9สัปดาห์
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วยหลงเทศกาลโลก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด9สัปดาห์ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-  ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม เช่น สี กระดาษ กรรไกร
-   เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
- ออกแบบวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
-   พูด/สื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Quarter 2ได้
-   เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบปฏิทินได้
ทักษะการคิด
 - คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- มีความสนใจกระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายามทำงานจนสำเร็จ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น


















1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 สิงหาคม 2558 เวลา 17:31

    บันทึกหลังการสอน PBL
    ใน week 2 ของ Q 2 การสัปดาห์ของการวางแผนการเรียนรู้ นักเรียนทุกคนมีความตั้งใจร่วมกันนำเสนอความคิดแปลกใหม่อยู่เสมอเพื่อที่จะคิดและวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ตัวนี้สามารถนำพาไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นอกจากนี้พี่ๆนักเรียนทุกคนมีความกระตือรือร้นและให้ความสนใจเกี่ยวกับการจับฉลากเพื่อเลือกประเทศที่ตัวเองต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องราวของเทศกาลนั้นๆ พี่ๆทุกคนรวมทั้งตัวครูเองตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้เทศกาลแปลกๆใหม่ๆที่ไม่เคยพบเจอ เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ที่น่าเรียนรู้
    ปัญหาที่พบพี่ๆยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับคำว่า เทศกาลกับประเพณี ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การแก้ไขคุณครูจึงตั้งคำถาม ในความคิดของพี่คำว่าประเพณีคืออะไร?และเทศกาลเป็นอย่างไร? จากนั้นมีการร่วมกันแสดงความคิดเห็น
    ความรูสึก ครูผู้สอนรู้สึกดีใจที่พี่ๆทุกคนให้ความสนใจในการเรียนรู้ และมีการเข้ามาถามมาปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการหาข้อมูลของเทศกาลต่างๆ

    ตอบลบ